วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัด

แบบฝึกหัด
1.ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) เกิดขึ้นครั้งแรกปี ค.ศ. ใด
ก. 1971 ข.1988
ค.1999 ง.2002
ตอบ 1971
2.รูปแบบการเชื่อมต่อบนระบบเครือข่าย LAN แบบไร้สายมีกี่รูปแบบ
ก. 1 ข.2
ค.3 ง.4
ตอบ 4
3.ข้อใด คือ ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย
ก. มีความคล่องตัวสูง ข.สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว
ค.สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย ง.ถูกทุกข้อ
ตอบ ง.ถูกทุกข้อ
4.ข้อเสียของระบบ Wireless LAN คือ
ก.ส่งสัญญาณได้ระยะไกล ข.ไม่มีสัญญาณรบกวน
ค.ราคาถูก ง.ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
ตอบ ง.ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
5. IEEE ย่อมาจากอะไร
ก.Institute of Electrical and Electronicx Engineers
ข. Peer-to-peer
ค. Infrastructure mode
ง. Fiber Optic Technical Advisory Group
ตอบ ก.Institute of Electrical and Electronicx Engineers
6.IEE ก่อตั้งเมื่อ ค.ศ. ใด
ก. 1963 ข.1988
ค.1999 ง.2002
ตอบ ก. 1963
7. WLAN ย่อมาจากอะไร
ก. Wireless Local Area Network ข. Wireless Network Local Area
ค. Wireless Local Network ง. Wireless Access Point
ตอบ ก. Wireless Local Area Network
8.Wireless Bridge หมายถึง
ก. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย ข. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย
ค. สายอากาศ ง. แลนการ์ดไร้สาย
ตอบ ข. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย
9.อุปกรณ์ใดทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ
ก. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย ข. สายอากาศ
ค.สะพานเชื่อมโยงไร้สาย ง. แลนการ์ดไร้สาย
ตอบ ค. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย
10. อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN คือข้อ ใด
ก. Wireless Bridge ข. Wireless Broadband Router
ค. Antenna ง. Wireless Print Server
ตอบ ง. Wireless Print Server
11. IEEE 802.11 เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.ใด
ก. ค.ศ.1994 ข. ค.ศ.1995
ค. ค.ศ.1996 ง. ค.ศ.1997
ตอบ ง. ค.ศ.1997
12. . IEEE 802.11a เริ่มประกาศใช้เมื่อใด
ก. กันยายน 2542 ข. กรกฎาคม 2540
ค. มกราคม 2550 ง. กุมภาพันธ์ 2499
ตอบ ก. กันยายน 2542
13.มาตราฐาน 10BASE เป็นมาตรฐานซึ่งกำหนดขึ้นโดยองค์กรใด
ก.IEEE ข. EEIE
ค. EIEE ง. EEEE
ตอบ ก.IEEE
14. WWAN ย่มาจากอะไร
ก. Wireless Wide Area Network ข. Wireless Personal Area Network
ค. Wireless Local Area Network ง. Wireless Metropolitan Area Network
ตอบ ก. Wireless Wide Area Network
15. WPAN ย่อมาจากอะไร
ก. Wireless Wide Area Network ข. Wireless Personal Area Network
ค. Wireless Local Area Network ง. Wireless Metropolitan Area Network
ตอบ ข. Wireless Personal Area Network

ระบบเครือข่ายไร้สาย

ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN)
ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LAN) ระบบเครือข่ายไร้สาย (Wireless LANs) เกิดขึ้นครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1971 บนเกาะฮาวาย โดยโปรเจกต์ ของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาวาย ที่ชื่อว่า “ALOHNET” ขณะนั้นลักษณะการส่งข้อมูลเป็นแบบ Bi-directional ส่งไป-กลับง่ายๆ ผ่านคลื่นวิทยุ สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ 7 เครื่อง ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะ 4 เกาะโดยรอบ และมีศูนย์กลางการเชื่อมต่ออยู่ที่เกาะๆหนึ่ง ที่ชื่อว่า Oahu
ระบบเครือข่ายไร้สาย (WLAN = Wireless Local Area Network) คือ ระบบการสื่อสารข้อมูลที่มีความคล่องตัวมาก ซึ่งอาจจะนำมาใช้ทดแทนหรือเพิ่มต่อกับระบบเครือข่ายแลนใช้สายแบบดั้งเดิม โดยใช้การส่งคลื่นความถี่วิทยุในย่านวิทยุ RF และ คลื่นอินฟราเรด ในการรับและส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ผ่านอากาศ, ทะลุกำแพง, เพดานหรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ โดยปราศจากความต้องการของการเดินสาย นอกจากนั้นระบบเครือข่ายไร้สายก็ยังมีคุณสมบัติครอบคลุมทุกอย่างเหมือนกับระบบ LAN แบบใช้สาย
ที่สำคัญก็คือ การที่มันไม่ต้องใช้สายทำให้การเคลื่อนย้ายการใช้งานทำได้โดยสะดวก ไม่เหมือนระบบ LAN แบบใช้สาย ที่ต้องใช้เวลาและการลงทุนในการปรับเปลี่ยนตำแหน่งการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์
ปัจจุบันนี้ โลกของเราเป็นยุคแห่งการติดต่อสื่อสาร เทคโนโลยีต่างๆ เช่นโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำเนินธุรกิจและการใช้ชีวิตประจำวัน ความต้องการข้อมูลและการบริการต่างๆ มีความจำเป็นสำหรับนักธุรกิจ เทคโนโลยีที่สนองต่อความต้องการเหล่านั้น มีมากมาย เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค เครื่องปาร์ม ได้ถูกนำมาใช้เป็นอย่างมากและ ผู้ที่น่าจะได้ประโยชน์จากการใช้ ระบบเครือข่ายไร้สาย มีมากมายไม่ว่าจะเป็น
- หมอหรือพยาบาลในโรงพยาบาล เพราะสามารถดึงข้อมูลมารักษาผู้ป่วยได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ที่เชื่อมต่อกับ ระบบเครือข่ายไร้สายได้ทันที
- นักศึกษาในมหาวิทยาลัยก็สามารถใช้งานโน็ตบุ๊คเพื่อค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดของมหาวิทยาลัย หรือใช้อินเตอร์เน็ท จากสนามหญ้าในมหาลัยได้
- นักธุรกิจที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นอกสถานที่ที่ทำงานปกติ ไม่ว่าจะเป็นการนำเสนองานยังบริษัทลูกค้า หรือการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ติดตัวไปงานประชุมสัมมนาต่างๆ บุคคลเหล่านี้มีความจำเป็นที่จะต้องเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรซึ่งอยู่ห่างออกไปหรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์สาธารณะ เช่นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายจึงน่าจะอำนวยความสะดวกให้กับบุคคลเหล่านี้ได้ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการเปิดให้บริการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย ตามสนามบินใหญ่ทั่วโลก และนำมาใช้งานแพร่หลายในห้างสรรพสินค้า และโรงแรมต่างๆแล้ว
ประโยชน์ของระบบเครือข่ายไร้สาย
1. mobility improves productivity & service มีความคล่องตัวสูง ดังนั้นไม่ว่าเราจะเคลื่อนที่ไปที่ไหน หรือเคลื่อนย้ายคอมพิวเตอร์ไปตำแหน่งใด ก็ยังมีการเชื่อมต่อ กับเครือข่ายตลอดเวลา ตราบใดที่ยังอยู่ในระยะการส่งข้อมูล
2. installation speed and simplicity สามารถติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เพราะไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งสายเคเบิล และไม่รกรุงรัง
3. installation flexibility สามารถขยายระบบเครือข่ายได้ง่าย เพราะเพียงแค่มี พีซีการ์ดมาต่อเข้ากับโน๊ตบุ๊ค หรือพีซี ก็เข้าสู่เครือข่ายได้ทันที
4. reduced cost- of-ownership ลดค่าใช้จ่ายโดยรวม ที่ผู้ลงทุนต้องลงทุน ซึ่งมีราคาสูง เพราะในระยะยาวแล้ว ระบบเครือข่ายไร้สายไม่จำเป็นต้องเสียค่าบำรุงรักษา และการขยายเครือข่ายก็ลงทุนน้อยกว่าเดิมหลายเท่า เนื่องด้วยความง่ายในการติดตั้ง
5. scalability เครือข่ายไร้สายทำให้องค์กรสามารถปรับขนาดและความเหมาะสมได้ง่ายไม่ยุ่งยาก เพราะสามารถโยกย้ายตำแหน่งการใช้งาน โดยเฉพาะระบบที่มีการเชื่อมระหว่างจุดต่อจุด เช่น ระหว่างตึก
ระบบเครือข่ายไร้สาย เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ไม่มากนัก และมักจำกัดอยู่ในอาคารหลังเดียวหรืออาคารในละแวกเดียวกัน การใช้งานที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่ายไร้สายก็คือ ความสะดวกสบายที่ไม่ต้องติดอยู่กับที่ ผู้ใช้สามารถเคลื่อนที่ไปมาได้โดยที่ยังสื่อสารอยู่ในระบบเครือข่าย



รูปแบบการเชื่อมต่อของระบบเครือข่ายไร้สาย
2.1 Peer-to-peer ( ad hoc mode )

รูปแบบการเชื่อมต่อระบบแลนไร้สายแบบ Peer to Peer เป็นลักษณะ การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 เครื่องหรือมากกว่านั้น เป็นการใช้งานร่วมกันของ wireless adapter cards โดยไม่ได้มีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายแบบใช้สายเลย โดยที่เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะมีความเท่าเทียมกัน สามารถทำงานของตนเองได้และขอใช้บริการเครื่องอื่นได้ เหมาะสำหรับการนำมาใช้งานเพื่อจุดประสงค์ในด้านความรวดเร็วหรือติดตั้งได้โดยง่ายเมื่อไม่มีโครงสร้างพื้นฐานที่จะรองรับ ยกตัวอย่างเช่น ในศูนย์ประชุม, หรือการประชุมที่จัดขึ้นนอกสถานที่
2.2 Client/server (Infrastructure mode)

ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ Client / server หรือ Infrastructure mode เป็นลักษณะการรับส่งข้อมูลโดยอาศัย Access Point (AP) หรือเรียกว่า “Hot spot” ทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมต่อระหว่างระบบเครือข่ายแบบใช้สายกับเครื่องคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (client) โดยจะกระจายสัญญาณคลื่นวิทยุเพื่อ รับ-ส่งข้อมูลเป็นรัศมีโดยรอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในรัศมีของ AP จะกลายเป็น เครือข่ายกลุ่มเดียวกันทันที โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ จะสามารถติดต่อกัน หรือติดต่อกับ Server เพื่อแลกเปลี่ยนและค้นหาข้อมูลได้ โดยต้องติดต่อผ่านAP เท่านั้น ซึ่ง AP 1 จุด สามารถให้บริการเครื่องลูกข่ายได้ถึง 15-50 อุปกรณ์ ของเครื่องลูกข่าย เหมาะสำหรับการนำไปขยายเครือข่ายหรือใช้ร่วมกับระบบเครือข่ายแบบใช้สายเดิมในออฟฟิต, ห้องสมุด หรือในห้องประชุม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากขึ้น
2.3 Multiple access points and roaming

โดยทั่วไปแล้ว การเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ กับ Access Point ของเครือข่ายไร้สายจะอยู่ในรัศมีประมาณ 500 ฟุต ภายในอาคาร และ 1000 ฟุต ภายนอกอาคาร หากสถานที่ที่ติดตั้งมีขนาดกว้าง มากๆ เช่นคลังสินค้า บริเวณภายในมหาวิทยาลัย สนามบิน จะต้องมีการเพิ่มจุดการติดตั้ง AP ให้มากขึ้น เพื่อให้การรับส่งสัญญาณในบริเวณของเครือข่ายขนาดใหญ่ เป็นไปอย่างครอบคลุมทั่วถึง
2.4 Use of an Extension Point

กรณีที่โครงสร้างของสถานที่ติดตั้งเครือข่ายแบบไร้สายมีปัญหาผู้ออกแบบระบบอาจจะใช้ Extension Points ที่มีคุณสมบัติเหมือนกับ Access Point แต่ไม่ต้องผูกติดไว้กับเครือข่ายไร้สาย เป็นส่วนที่ใช้เพิ่มเติมในการรับส่งสัญญาณ
2.5 The Use of Directional Antennas

ระยะทางการเชื่อมต่อของระบบ Wireless LAN
ภายในอาคาร
1. ระยะ 50 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 80 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 120 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 150 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
ภายนอกอาคาร
1.ระยะ 250 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 11 Mbps
2. ระยะ 350 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 5.5 Mbps
3. ระยะ 400 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 2 Mbps
4. ระยะ 500 เมตร ได้ความเร็วประมาณ 1 Mbps
อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่าย Wireless LAN
1. แลนการ์ดไร้สาย (Wireless LAN Card)
ทำหน้าที่ในการ แปลงข้อมูล ดิจิตอล ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นคลื่นวิทยุแล้วส่งผ่านสายอากาศให้กระจายออกไป และทำหน้าที่ในการรับเอาคลื่นวิทยุที่แพร่กระจายแปลงเป็น ข้อมูลดิจิตอล ส่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ประมวลผล Wireless LAN ที่ผลิตออกมาจำหน่าย มีหลายรูปแบบแบ่งตามลักษณะช่องเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ได้ดังนี้
- แลนการ์ดแบบ PCI
- แลนการ์ดแบบ PCMCIA
- แลนการ์ดแบบ USB
- แลนการ์ดแบบ Compact Flash (CF)
2. อุปกรณ์เข้าใช้งานเครือข่าย (Wireless Access Point)
ทำหน้าที่เสมือน ฮับ เชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายและอุปกรณ์ไวร์เลสแลนแบบต่าง ๆเข้าด้วยกัน อีกทั้งเป็นสะพานเชื่อมต่อ เครื่องไวร์เลสแลนเข้ากับเครื่องอีเธอร์เนตทำให้ระบบทั้งสองสามารถสื่อสารกันได้
3. สะพานเชื่อมโยงไร้สาย (Wireless Bridge)
ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบ เครือข่ายอีเธอร์เน็ตแลนตั้งแต่สองระบบขึ้นไปเข้าด้วยกันแทนการใช้สายสัญญาณ ข้อมูลที่สื่อสารระหว่างเครือข่ายอีเธอร์เน็ตจะถูกแปลงเป็นคลื่นวิทยุแล้วถูกแปลงไปยังปลายทาง
4. Wireless Broadband Router
ทำหน้าที่ในการต่อเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านคู่สายโทรศัพท์ (ADSL) หรือ เคเบิลทีวี (UBC) ด้วยเทคโนโลยี Broadband Router ซึ่งมีฟังชันการทำงานเป็นตัวค้นหาเส้นทาง, NAT (Network Address Translation) , Firewall , VPN ๆลๆ มาผสมผสานเข้ากับ Access Point ทำให้ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ไร้สายสามารถสื่อสารข้อมูลไปยังระบบอินเทอร์เน็ต
5. Wireless Print Server
อุปกรณ์การแชร์เครื่องพิมพ์บนระบบเครือข่าย Wireless LAN
6. Power Over Ethernet Adapter
ทำหน้าที่แยกสาย UTP ที่มีสายทองแดงตีเกลียวอยู่ข้างใน 4 คู่โดยสายทองแดงสำหรับใช้สื่อสารข้อมูลใช้เพียง 2 คู่เท่านั้น ส่วนสายทองแดงอีก 2 คู่สามารถใช้อุปกรณ์ตัวนี้นำมาใช้เป็นเส้นทางสำหรับส่งแรงดันไฟฟ้าไปให้กับตัว Access Point ได้
7. สายอากาศ (Antenna)
ทำหน้าที่เปลี่ยนข้อมูลในรูปของกระแสไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากภาคส่งของอุปกรณ์ไวร์เลสแลนให้
กลายเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายออกไปในอากาศและสายอากาศยังทำหน้าที่รับเอาคลื่นที่อุปกรณ์ไวร์เลสแลนเครื่องอื่น ๆ ส่งออกมาแปลงกลับให้อยู่ในรูปของกระแสไฟฟ้าส่งให้ภาครับต่อไป
ข้อเสียของระบบ Wireless LAN
1. มีอัตราการลดทอนสัญญาณสูง นั่นหมายความว่า “ ส่งสัญญาณได้ระยะสั้น ”
2. มีสัญญาณรบกวนสูง
3. ต้องแชร์กันใช้ช่องสัญญาณคลื่นความถี่เดียวกัน
4. ยังมี หลายมาตรฐาน ตามผู้ผลิต แต่ละราย ทำให้มีปัญหาในการใช้งานร่วมกัน
5. ราคาแพงกว่าระบบเครือข่ายแบบมีสาย
6. มีความเร็วไม่สูงมากนัก
IEEE ย่อมาจาก Institute of Electrical and Electronics Engineers เป็นองค์กรวิชาชีพวิศวกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐาน สำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ และยังได้กำหนดมาตรฐาน IEEE สำหรับ LAN ซึ่งมาตรฐานนี้จะอธิบายถึง LAN แบบ CSMA/CS, Token Bus และ Token Ring ซึ่งเป็น LAN ที่ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และยังได้รับการยอมรับจากองค์กรควบคุมมาตรฐาน ได้แก่ ANSI และ ISO
มาตรฐาน IEEE 802 ถูกแบ่งเป็นหลายส่วน ซึ่งแบ่งออกได้ดังนี้
IEEE 802.1 อธิบายถึงเนื้อหาโดยทั่วไปของมาตรฐานภายใน IEEE 802 ตลอดจนการเชื่อมโยงในแต่ละระดับชั้น จึงมักไม่ค่อยกล่าวถึง
IEEE 802.2 อธิบายถึงส่วนระดับชั้นบนของ Data Link Layer ซึ่งใช้โพรโตคอล LLC (Logical Link Control) ในการควบคุมการส่งข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง
IEEE 802.3 เริ่มต้นมาจากบริษัท Xerox ได้สร้างระบบเครือข่ายเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ 100 สถานีภายใน โดยมีความยาวของเครือข่ายถึง 1 กิโลเมตร และอัตราส่งข่อมูลได้ถึง 2.94 Mbps ระบบนี้เรียกว่า Ethernet ต่อมา บริษัท Xerox , Dec, และ Intel ได้ร่วมกันพัฒนามาตรฐาน Ethernet ซึ่งมีอัตราส่ง 10 Mbps ซึ่งมาตรฐานนี้เป็นพื้นฐานของ IEEE 802.3
IEEE 802.4 หรือ โทเค็นบัส มี Topology แบบ Bus มีข้อกำหนดการใช้สายสื่อสารโดยใช้ Token ทำหน้าที่เป็นเฟรมสัญญาณกำหนดจังหวะให้สถานีเข้าใช้สื่อสาร Token จะถูกนำส่งจากสถานีหนึ่งไปยังสถานีหนึ่งและวนกลับที่เดิมเป็นวงรอบ
IEEE 802.5 หรือโทเค็นริง หรือมักเรียกว่า IBM Token Ring เป็นเครือข่ายที่ใช้ Ring Topology ด้วยสาย Twisted pair หรือ fiber optied อัตราการส่งข้อมูลของ Token Ring ที่ใช้โดยทั่วไปคือ 4 และ 6 Mbps
IEEE 802.6 เป็นโปรโตคอลมาตรฐานสำหรับ Distributed Queue Dual Bus (DQDB) เพื่อใช้ในการสื่อสารของ LAN และ MAN
IEEE 802.7 เป็น Broadband Technical Advisory Group (B.B.TAG) ที่ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานขึ้นมาแต่จะมีอิทธิพลอย่างมากต่อการพัฒนา บรอดแบนด์ของ IEEE 802
IEEE 802.8 เป็น Fiber Optic Technical Advisory Group มีอิทธิพลต่อการส่งข้อมูลแบบเส้นใยนำแสง IEEE 802 กลุ่มอื่น
IEEE 802.9 ใช้ในการกำหนดการรวมเสียงและข้อมูลบนระบบเครือข่ายรองรับ
IEEE 802.10 กำหนดความปลอดภัยบนระบบเครือข่าย
IEEE 802.11 เป็นมาตรฐานของระบบการสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย WLAN คุณลักษณะเฉพาะของ IEEE 802.11 กำหนดระบบเครือข่ายไร้สายที่เทียบเคียงได้กับระบบเครือข่ายอีเธอร์เน็ต ที่ LANs เหล่านี้อาศัยเทคนิคที่มีความสัมพันธ์กับ CSMA/CD สำหรับการ access เข้าไปยังระบบเครือข่าย
IEEE 802.12 ใช้สาย Twisted-pair แบบ 8 เส้น (4 คู่สาย) ระบบการรับส่งข้อมูลใน LAN จะเปลี่ยนจาก CSMA/CD ไปเป็นแบบที่เรียกว่า Demand priority โดยทุกเครื่องในระบบจะต้องต่อเข้ากับ Hub และ Hub จะเป็นตัวจัด priority ว่าเครื่องใดจะได้ส่งข้อมูลผ่าน Hub ออกไปยัง Hub ตัวอื่น โดยพิจาณาลักษณะงานที่เป็น real-time
IEEE 802.14 กำหนดมาตรฐานสาย modem
IEEE 802.15 การรับส่งข้อมูลผ่านโครงข่ายระยะใกล้ ซึ่งเรียกว่า WPAN ( Wireless Personal Area Network) หรือเทคโนโลยี Bluetooth
IEEE 802.16 เป็นเทคโนโลยีไร้สาย WiMAX เป็นเทคโนโลยีไร้สายที่มีความสามารถสูงกว่า Wi-Fi ทั้งความเร็วและระยะทาง

IEEE 802.3 โดยมีตารางมาตรฐานที่เกี่ยวข้องในระบบ LAN (Ethernet) ดังต่อไปนี้

สายสื่อสารมาตรฐาน
การกำหนดมาตรฐานการใช้เครือข่าย LAN นั้นเกิดขึ้นจากการกำหนดมาตรฐานของเครือข่าย
LAN ตามลักษณะของโปรโตคอล MAC (จะกล่าวในเรื่องโปรโตคอลในเครือข่าย LAN)ที่ใช้ โดยแยกออกเป็น 3 มาตรฐาน ได้แก่
มาตราฐาน 10BASE
เป็นมาตรฐานซึ่งกำหนดขึ้นโดยองค์กร IEEE ใช้เป็นสายสื่อสารมาตรฐานในการสื่อสารข้อมูล
ด้วยโปรโตคอล CSMA/CD (หรือ IEEE 802.3) ซึ่งยังแบ่งออกเป็น
1. สาย 10BASE5 หรือสาย Original 802.3 Standard เป็นสายโคแอกเชียลมาตรฐาน
ของเครือข่าย LAN ที่มีแบบการส่งสัญญาณข้อมูลแบบเบสแบนด์ สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 10 Mbps ความยาวสูงสุดของสายสื่อสารใน 1 ช่วง (Segment) จากปลายสุดด้านหนึ่งของสายถึงปลายสุดอีกด้านหนึ่งของ สายเท่ากับ 500 เมตร โดยสามารถมีแทป (Tap) ต่อเข้าระหว่างสาย 1 ช่วงได้สูงสุดเท่ากับ 100 แทป ระยะ ทางของการสื่อสารจะสามารถเพิ่มขึ้นได้อีกถ้ารีพีตเตอร์ โดยจำกัดไว้ว่าสามารถใช้รีพีตเตอร์ได้มากที่สุด 4 เครื่องต่อ 1 เส้นทางระหว่าง 2 สเตชั่น ซึ่งทำให้สามารถเพิ่มระยะทางการสื่อสารของเครือข่าย LAN ไปได้ ไกลถึง 2.5 กม.
2. สาย 10BASE2 หรือสาย Cheapernet เป็นสายโคแอกเชียลที่มีขนาดเล็กกว่าสาย
10 BASE5 แต่มีอัตราส่งข้อมูลเท่ากัน ทำให้ราคาของสาย 10 BASE2 ถูกกว่า แต่การที่ขนาด ของสายเล็ก ลงก็ทำให้ระยะทางการเชื่อมต่อสเตชั่นเข้ากับสายเคเบิลสั้นลงด้วย คือสามารถมีแทปใน 1 ช่วงสายได้สูงสุด 30 แทปและมีระยะทางการสื่อสารได้ไกลสุดเท่ากับ 185 เมตร
3. สาย 1BASE5 หรือสาย STARLAN เป็นสายเกลียวคู่แบบไม่มีชีลด์ มีอัตราเร็วในการ
ส่งข้อมูลเท่ากับ 1 Mbps ในเครือข่าย LAN แบบ Passive STAR สาย 1BASE5 มีราคาถูกกว่าสายโคแอกเชียล เหมาะสมกับงานที่ไม่ต้องการอัตราเร็วในการส่งข้อมูลสูงมากนัก
4. สาย 10BASE-T เป็นสายเกลียวคู่แบบไม่มีชีลด์ซึ่งใช้กับเครือข่าย LAN แบบ
Passive STAR เช่นกัน แต่มีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลสูงถึง 10 เมกะบิตต่อวินาที
5. สาย 10BASE36 หรือสาย Broadband เป็นสายโคแอกเชียลแบบบรอดแบนด์ซึ่ง
สามารถมีสเตชันได้มากกว่า และสื่อสารได้ไกลกว่าสายโคแอกเชียลแบบเบสแบนด์
ในตาราง 6 เป็นการสรุปสายมาตรฐาน 10BASE ที่ใช้ในเครือข่าย LAN มาตรฐาน
IEEE802.3 (CSMA/CD)
ตารางที่ 6 สายมาตรฐาน10BASE ใน LAN มาตรฐาน IEEE 802.3(CSMA/CD)
สาย10BASE ชนิดของสายสื่อสาร เทคนิคการส่งสัญญาณ อัตราเร็วข้อมูล
Mbps ระยะทางสูงสุดใน 1 ช่วง
สาย(เมตร)
10BASE5 สายโคแอกเชียล
(50 โอห์ม) เบสแบนด์
(แมนเชสเตอร์) 10 500
10BASE2 สายโคแอกเชียล
(50 โอห์ม) เบสแบนด์
(แมนเชสเตอร์) 10 185
10BASE5 สายเกลียวคู่แบบ
ไม่มีชีลด์ เบสแบนด์
(แมนเชสเตอร์) 1 250
10BASE-T สายเกลียวคู่แบบ
ไม่มีชีลด์ เบสแบนด์
(แมนเชสเตอร์) 10 100
10BASE36 สายโคแอกเชียล
(50 โอห์ม) บรอดแบนด์
(DPSK) 10 3600

มาตราฐาน IEEE 802.4

IEEE 802.4 เป็นมาตรฐานของโปรโตคอลแบบ Token Bus โดยมีสายสื่อสารที่ใช้เป็น
มาตรฐานอยู่ 3 แบบคือ
1.สาย Broadband เป็นสายโคแอกเชียล สำหรับการส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์
สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วต่างกันคือ 1, 5 และ 10 เมกะบิตต่อวินาที สำหรับช่องทางซึ่งมีแบนด์วิดท์เท่ากับ 1.5,6 และ 12 MHz ตามลำดับ ในสายสื่อสารเดียว
2.สาย Carrierband หรือสายบรอดแบนด์ช่องทางเดียว เพราะมีเพียง 1 ช่องสัญญาณต่อ
1 สายทำให้ราคาของสายถูกลง แต่อย่างไรก็ตามสาย Carrierband ก็มีสาย 3 แบบให้เลือกตามอัตราเร็ว ใน การส่งข้อมูลคือ 1,5 และ 10 Mbps
3.สายไฟเบอร์ออปติก สามารถส่งข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็วเท่ากับ 5, 10 และ 20 Mbps
สามารถใช้ได้ทั้งเครือข่าย LAN แบบ Passive และ Active STAR

ตาราง 7 สายสื่อสารมาตรฐานใน LAN มาตราฐาน IEEE 802.4 (Token Bus)
ชนิดของสายสื่อสาร เทคนิคการส่งสัญญาณ อัตราเร็วของข้อมูล
Mbsp ระยะทางสูงสุด
ใน 1 ช่วงสาย (เมตร)
สาย Broadband สายโคแอกเชียล
(75 โอห์ม) บรอดแบนด์
(AM หรือ PSK) 1,5,10 ไม่ได้ระบุ
สาย Carrierband สายโคแอกเชียล
(75 โอห์ม) บรอดแบนด์
(FSK) 1,5,10 7,600
สายไฟเบอร์ออปติก สายไฟเบอร์ออปติก ASK
(แมนเชสเตอร์) 5,10,20 ไม่ได้ระบุ

มาตราฐาน IEEE 802.5
เป็นมาตรฐานโปรโตคอลแบบ Token Passing ของเครือข่าย LAN แบบ Token-Ring
สายสื่อสารมาตรฐาน IEEE 802.5 คือสายเกลียวคู่แบบมีชีลด์ซึ่งมี 2 อัตราเร็วของการส่งข้อมูลคือ 1 และ 4 Mbps สำหรับเครือข่าย LAN แบบ Token-Ring และยังมีอีกหนึ่งมาตราฐานที่ใช้ร่วมกันคือมาตรฐานของ IBM ซึ่งมีสายสื่อสารให้เลือก 2 แบบ คือ สายเกลียวคู่แบบไม่มีชีลด์ อัตราเร็ว 1 และ 4 Mbps และสายเกลียวคู่ แบบมีชีลด์ อัตราเร็ว 16 Mbps
ตาราง 8 สายสื่อสารมาตราฐาน IEEE 802.5 (Token Passing)
ชนิดของสาย
สื่อสาร เทคนิคการส่ง
สัญญาณ อัตราเร็วข้อมูล
(Mbps) จำนวนรีพิตเตอร์
สูงสุด ระยะทางสูงสุด
ระหว่างรีพิตเตอร์
IEEE 802.5 สายเกลียวคู่มีชีลด์ แมนเชสเตอร์แบบ
Differential 1,4 250 ไม่ระบุ
IBM สายเกลียวคู่มีชีลด์ แมนเชสเตอร์แบบ
Differential 16 250 ไม่ระบุ
IBM สายเกลียวคู่ไม่มี
ชีลด์ แมนเชสเตอร์แบบ
Differential 1,4 72 ไม่ระบุ

มาตราฐาน FDDI
เป็นสายมาตรฐานสำหรับโปรโตคอลแบบ FDDI (Fiber Distributed Data Interface)
ซึ่งเป็นโปรโตคอลสำหรับเครือข่าย LAN แบบ Token-Ring เช่นกัน โดยมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลถึง 100 Mbps
ตาราง 9 สายมาตรฐาน FDDI
ชนิดของสายสื่อสาร เทคนิคการส่ง
สัญญาณ อัตราเร็วข้อมูล
Mbps จำนวนรีพิตเตอร์
สูงสุด ระยะทางสูงสุด
รหว่างรีพิตเตอร์
FDDI สายไฟเบอร์ออปติก ASK-NRZ1 100 1,000 2000 ม.

มาตรฐานของเครือข่ายไร้สาย
การสื่อสารกับเครื่อข่ายไร้สายก็คือ มาตรฐาน IEEE 802.11 เริ่มประกาศใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ.1997 ซึ่งมาตรฐานที่เกิดขึ้นยังมีข้อจำกัดในด้านเทคโนโลยี ซึ่งกำหนดระบบการส่งสัญญาณด้วยความเร็วที่ 2 Mbps และได้มีการพัฒนาเรื่อยมาโดยมีส่วนย่อยอยู่ด้วยกันถึง 9 ส่วน คือ a, b, c, d, e, f, g, h และ I โดยแต่ละชนิดนั้นก็จะมีลักษณะหรือมาตรฐานของรายละเอียดต่างกันไป ซึ่งหลังจาก 9 กลุ่มย่อยดังนี้ กลุ่มตัวอักษรจะไม่เรียงว่า a จะเก่ากว่า b และ c แต่จะขึ้นอยู่กับว่ามาตรฐานของกลุ่มใดทำเสร็จก่อนก็จะนำออกเปิดตัวก่อน โดยดูได้จากตารางข้างล่างซึ่งได้ทำการเปรียบเทียบมาตรฐานต่างๆ เอาไว้ ดังนี้

มาตรฐาน 802.11 802.11a 802.11b 802.11g
เริ่มประกาศใช้ July 1997 กรกฎาคม 2540 September 1999 กันยายน 2542 September 1999 กันยายน 2542 Expected in 2002 2545
แถบความถี่ที่สามารถใช้ได้ 83.5 MHz 300 MHz 83.5 MHz 83.5 MHz
ช่วงความถี่ที่สามารถใช้ได้ 2.4-2.4835 GHz 5.15-5.35 GHz
5.725-5.825 GHz 2.4-2.4835 GHz 2.4-2.4835 GHz
อัตราการส่งข้อมูลต่อช่อง 1,2 Mbps 6,9,12,18,24,36,48,54 Mbps 1,2,5.5,11 Mbps 6,9,12,18,24,36,48,54 Mbps
ความเข้ากันได้ 802.11 Wi-Fi5 Wi-Fi Wi-Fi at 11 Mbps and below

ระบบเครือข่ายไร้สาย

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

แบบทดสอบ

แบบทดสอบ
1. Mark 4 bit Class a
วิธีทำ 11111111. ØØØØ0000.00000000.00000000
2 ยกกำลัง 4 = 16 – 2 = 14 Subnet
2 ยกกำลัง 20 = 1,048,576 – 2 = 1,048,574 Host
ตอบ Mark 4 bit Class a ได้ 14 Subnet Subnet ละ 1,048,574 Host

2. Mark 6 bit Class a
วิธีทำ 11111111. ØØØØØØ00.00000000.00000000
2 ยกกำลัง 4 = 64 – 2 = 62 Subnet
2 ยกกำลัง 18 = 262,144 – 2 = 262,142 Host
ตอบ Mark 6 bit Class a ได้ 62 Subnet Subnet ละ 262,142 Host
3. Mark 10 bit Class a
วิธีทำ 11111111. ØØØØØØØØ. ØØ000000.00000000
2 ยกกำลัง 10 = 1,024 – 2 = 1,022 Subnet
2 ยกกำลัง14 = 16,384 – 2 = 16,384 Host
ตอบ Mark 10 bit Class a ได้ 1,022 Subnet Subnet ละ16, 384 Host

4. Mark 12 bit Class a
วิธีทำ 11111111. ØØØØØØØØ. ØØØØ0000.00000000
2 ยกกำลัง 12 = 4,096 – 2 = 4,094 Subnet
2 ยกกำลัง 12 = 4,096 – 2 = 4,094 Host
ตอบ Mark 12 bit Class a ได้ 4,094 Subnet Subnet ละ4, 094 Host

5. Mark 14 bit Class a
วิธีทำ 11111111. ØØØØØØØØ. ØØØØØØ00.00000000
2 ยกกำลัง 14 = 16,384 – 2 = 16,382 Subnet
2 ยกกำลัง 10 = 1,024 – 2 = 1,022 Host
ตอบ Mark 14 bit Class a ได้16, 382 Subnet Subnet ละ1, 022 Host

6. Mark 3 bit Class b
วิธีทำ 11111111.11111111. ØØØ00000.00000000
2 ยกกำลัง 3 = 8 – 2 = 6 Subnet
2 ยกกำลัง 18 = 8,192 – 2 = 8,190 Host
ตอบ Mark 3 bit Class b ได้ 6 Subnet Subnet ละ8, 190 Host

7. Mark 5 bit Class b
วิธีทำ 11111111.11111111. ØØØØØ000.00000000
2 ยกกำลัง 5 = 32– 2 = 30 Subnet
2 ยกกำลัง 11 = 2,048 – 2 = 2,046 Host
ตอบ Mark 5 bit Class b ได้ 30 Subnet Subnet ละ2,046 Host

8. Mark 7 bit Class b
วิธีทำ 11111111.11111111. ØØØØØØ0.00000000
2 ยกกำลัง 7 = 128– 2 = 126 Subnet
2 ยกกำลัง 9 = 152 – 2 = 150 Host
ตอบ Mark 7 bit Class b ได้ 126 Subnet Subnet ละ150 Host

9. Mark 9 bit Class b
วิธีทำ 11111111.11111111. ØØØØØØØØ.Ø0000000
2 ยกกำลัง 9 = 152– 2 = 150 Subnet
2 ยกกำลัง 7 = 128 – 2 = 124 Host

ตอบ Mark 9 bit Class b ได้ 150 Subnet Subnet ละ124 Host

10. Mark 11 bit Class b
วิธีทำ 11111111.11111111. ØØØØØØØØ. ØØØ00000
2 ยกกำลัง 11 = 2048– 2 = 2046 Subnet
2 ยกกำลัง 5 = 32 – 2 = 30 Host
ตอบ Mark 11 bit Class b ได้ 2046 Subnet Subnet ละ30 Host

11. Mark 2 bit Class c
วิธีทำ 11111111.11111111. 11111111. ØØ000000
2 ยกกำลัง 2 = 4– 2 = 2 Subnet
2 ยกกำลัง 6 = 64 – 2 = 62 Host
ตอบ Mark 5 bit Class c ได้ 2 Subnet Subnet ละ62 Host

12. Mark 3 bit Class c
วิธีทำ 11111111.11111111. 11111111.ØØØ00000
2 ยกกำลัง 3 = 8– 2 = 6 Subnet
2 ยกกำลัง 5 = 32 – 2 = 30 Host
ตอบ Mark 3 bit Class c ได้ 6 Subnet Subnet ละ30 Host

13. Mark 4 bit Class c
วิธีทำ 11111111.11111111. 11111111.ØØØØ0000
2 ยกกำลัง 4 =16– 2 = 14 Subnet
2 ยกกำลัง 4 = 16 – 2 = 14 Host
ตอบ Mark 4 bit Class cได้ 14 Subnet Subnet ละ14 Host

14. Mark 5 bit Class c
วิธีทำ 11111111.11111111.11111111. ØØØØØ000
2 ยกกำลัง 5 = 32– 2 = 30 Subnet
2 ยกกำลัง 3 = 8 – 2 = 6 Host
ตอบ Mark 5 bit Class c ได้ 30 Subnet Subnet ละ6 Host

15. Mark 6 bit Class c
วิธีทำ 11111111.11111111.11111111. ØØØØØØ00
2 ยกกกำลัง 6 =64– 2 = 62 Subnet
2 ยกกำลัง 2 = 4 – 2 = 2 Host
ตอบ Mark 6 bit Class c ได้ 62 Subnet Subnet ละ 2 Host

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบ 20 ข้อ

การออกข้อสอบปรนัยพร้อมเฉลย 20 ข้อ
1. ข้อใดคือความหมายของการสื่อสารข้อมูล
ก. กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
ข. หรือ พาหะ เพื่อนำข่าวสารนั้นไปถึงกันโดยใช้เคลื่อนวิทยุที่มีความถี่สูงเป็น คลื่นพาห์ ช่วยนำสัญญาณทาง
ค. เป็นการส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร
ง. อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ
เฉลย ก. กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
2. สัญญาณดิจิตอล คือข้อใด
ก. เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (sine wave) โดยแต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน
ข. เป็นสัญญาณที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1"
ค. เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข. เป็นสัญญาณที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1"
3. การสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 1ประเภท ข. 2ประเภท
ค. 3 ประเภท ง. 4ประเภท
เฉลย ข. 2ประเภท
4. การมอดูเลตสัญญาณอนาล็อกมีกี่วิธี
ก. 1 วิธี ข. 2 วิธี
ค. 3 วิธี ง. 4 วิธี
เฉลย ค. 3 วิธี
5. ข้อดีของสายคู่บิดเกลียว
ก.มีราคาถูก ข.ใช้งานง่ายมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
ค.ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
6. จุดปลายทางของข่าวสาร หมายถึง ส่วนประกอบใดขององค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก. ผู้ส่งข่าวสาร ข. ช่องสัญญาณ
ค. การเข้ารหัส ง. ผู้รับข่าวสาร
เฉลย ง. ผู้รับข่าวสาร
7. การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือความหมายของข้อใด
ก. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ค. ช่องทางการสื่อสาร
ข. การเชื่อมต่อแบบรวมกลุ่ม ง. อุปกรณ์ในเครือข่าย
เฉลย ก. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
8. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก. โมเด็ม ข. ช่องทางการส่งสัญญาณ
ค. ตัวรับข้อมูล ง. ตัวส่งข้อมูล
เฉลย ก. โมเด็ม
9. การ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหมายถึงข้อใด
ก. แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย
ข. อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก
ค. อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง. ไม่มีข้อใดถูก
เฉลย ก. แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย
10. องค์ประกอบของการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม แบ่งได้กี่ส่วน
ก. 1 ส่วน ข. 2 ส่วน
ค. 3 ส่วน ง. 4 ส่วน
เฉลย ข. 2 ส่วน
11. สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบเครื่อข่ายข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
ก. การส่งอีเมลล์ ข. การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร
ค. การคุยกันผ่านทางเอ็มเอชเอ็ม ง. การอัพโหลดภาพและข้อมูล
เฉลย ข. การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร
12. การเชื่อมต่อแบบหลายจุดตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษในข้อใด
ก. Switched Network ข. Point to Point Line
ค. multiplex ง. Multipoint or Multidrop
เฉลย ง. Multipoint or Multidrop
13. Switched Network คื่อการเชื่อมต่อแบบใด
ก. การเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน ข.การเชื่อมต่อแบบหลายจุด
ค.การเชื่อมต่อแบบรวมกลุ่ม ง. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร
เฉลย ง. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร
14. แหล่งกำเนิดของข่าวสาร หมายถึง ส่วนประกอบใดขององค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก. การเข้ารหัส ข. ช่องสัญญาณ
ค.ผู้รับข่าวสาร ง. ผู้ส่งข่าวสาร
เฉลย ง. ผู้ส่งข่าวสาร
15. ข้อเสียของการมอดูเลตแบบFM คือ
ก. มีแอมปลิจูดคงที่แต่ความถี่ของสัญญาณจะไม่คงที่
ข. จะต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าช่วยพาสัญญาณเหล่านั้นให้เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ค. ต้องการแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้างเนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลายความถี่
ง. สัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ต้องความเร็วในการส่งข้อมูลสูงนิยมใช้การมอดูเลตแบบPM
เฉลย ค. ต้องการแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้างเนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลายความถี่
16. ประเทศไทยมีการนำโทรศัพท์มาใช้ในครั้งแรกในปี พ. ศ. ใด
ก.2420 ข.2421
ค.2424 ง.2423
เฉลย ค.2424
17. multiplex หมายถึง
ก. การส่งข้อมูล ข.การรวมสัญญาณ
ค. การแปลงสัญญาณ ง. การเชื่อมโยงกับเครื่อข่าย
เฉลย ข.การรวมสัญญาณ
18. การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวและความยาวของสายไม่ จำกัดเป็นการเชื่อมโยงแบบใด
ก. การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด ข.รูปการเชื่อมโยงแบบหลายจุด
ค.การเชื่อมโยงแบบหลายจุด ง. การเชื่อมโยงทั่วไป
เฉลย ก. การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด
19. การส่งสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณแบบใด
ก.ไม่แบบต่อเนื่อง ข. แบบไม่ต่อกับโทรศัพท์
ค. แบบต่อเนื่อง ง. แบบต่อกับโทรศัพท์
เฉลย ก.ไม่แบบต่อเนื่อง
20. ประเทศเป็นคนค้นพบการการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นประเทศแรก
ก. สหรัฐอเมริกา ข. ลาว
ค อินโดนีเซีย ง. ฮ่องกง
เฉลย ก. สหรัฐอเมริกา

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การ modulet

การมอดูเลตสัญญาณ (Signal Modulation)
เมื่อต้องการจะส่งสัญญาณเสียงหรือข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าช่วยพาสัญญาณเหล่านั้นให้เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งขบวนการหรือขั้นต้อนในการเพิ่มพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวเราเรียกว่าการมอดูเลต(Modulation) พลังงานไฟฟ้าซึ่งมีความถี่สูงและคงที่รวมทั้งมีแอมปลิจูด(ขนาด) สูงด้วยนั้นเราเรียกว่าสัญญาณคลื่นพาห์(Signal Carrier) อุปกรณ์สำหรับมอดูเลตสัญญาณ(Modulator) จะสร้างสัญญาณคลื่นพาห์และรวมเข้ากับสัญญาณข้อมูลเพื่อให้สัญญาณมีความแรงพอที่จะส่งผ่านสื่อกลางไปยังอีกจุดหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปได้และเมื่อถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แยกสัญญาณคลื่นพาห์ออกให้เหลือเพียงสัญญาณข้อมูลเราเรียกวิธีการแยกสัญญาณนี้ว่าการดีมอดูเลต(Demodulation) เรื่องการมอดูเลตสัญญาณเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการสื่อสารข้อมูลการเลือกวิธีการมอดูเลตและการดีมอดูเลตที่เหมาะสมจะช่วยให้ท่านทำการส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมอดูเลตสัญญาณอนาล็อก วิธีการมอดูเลตสัญญาณอนาล็อกเพื่อส่งผ่านไปในช่องทางสื่อสารอนาล็อกนั้นมี 3 วิธีด้วยกันคือ
1. การมอดูเลตทางแอมปลิจูด(Amplitude Modulation, AM)
2. การมอดูเลตทางความถี่(Frequency Modulation, FM)
3. การมอดูเลตทางเฟส(Phase Modulation, PM)
การมอดูเลตทางแอมปลิจูด(AM)
การมอดูเลตแบบAM เป็นวิธีการที่ดั้งเดิมที่สุดและสะดวกที่สุดตามรูป 3.1 จะเห็นว่าความถี่ของสัญญาณคลื่นพาห์จะคงที่และสูงกว่าความถี่ของสัญญาณข้อมูลเพื่อให้สามารถพาสัญญาณข้อมูลไปได้ระยะทางไกลๆ จะเห็นว่าสัญญาณ AM ที่ มอดูเลตแล้วจะมีความถี่เท่ากับความถี่ของสัญญาณคลื่นพาห์โดยมีขนาดหรือแอมปลิจูดของสัญญาณเปลี่ยนแปลงไปตามแอมปลิจูดของสัญญาณข้อมูล ข้อเสียของการมอดูเลตแบบAM คือ แบนด์วิดท์ของสัญญาณAM เป็นย่านความถี่ที่ไม่สูงนักทำให้สัญญาณรบกวน (Noise) จากภายนอกสามารถเข้ามารบกวนได้ง่าย คลื่นพาห์จะตก
การมอดูเลตทางความถี่(FM)
ตรงกันข้ามกับการมอดูเลตแบบ AM สัญญาณมอดูเลตแบบFM (ดูรูป 3.2) จะมีแอมปลิจูดคงที่แต่ความถี่ของสัญญาณจะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไปตามความถี่ของสัญญาณข้อมูลข้อเสียของการมอดูเลตแบบFM คือ ต้องการแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้างเนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลายความถี่ดังนั้นจึงต้องหาวัสดุที่เป็นสายสื่อสารที่มีขนาดของแบนด์วิดท์กว้างทำ ให้ราคาของสายสื่อสารสูงขึ้นตามไปด้วย
การมอดูเลตทางเฟส(PM)
ในขณะที่การมอดูเลตแบบAM และ FM เป็นที่นิยมใช้ในการกระจายเสียงทางวิทยุวิธีการมอดูเลตแบบPM กลับ นิยมใช้กันในการแพร่ภาพสีทางทีวีวิธีการมอดูเลตแบบPM ออกจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่าแต่ก็เป็นวิธีที่ดีในการส่ง สัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ต้องความเร็วในการส่งข้อมูลสูงนิยมใช้การมอดูเลตแบบPM โดยส่งผ่านระบบโทรศัพท์ ในการมอดูเลตแบบPM ครึ่งรอบของสัญญาณเราคิดเป็นมุมเฟสเท่ากับ180 องศา และเมื่อครบรอบจะคิดเป็น360 องศา สัญญาณมอดูเลตจะมีการเปลี่ยน(กลับ) มุมเฟสทุกครั้งที่มุมเฟสของสัญญาณข้อมูลต่างจากมุมเฟสของสัญญาณคลื่นพาห์เท่ากับ180 องศา

การเชื่อมโยงการสื่อสาร






รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด ( Point - to - Point )







รูปการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด



เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวและความยาวของสายไม่ จำกัด สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ไม่ว่าจะเป็นแบบซิมเพล็กซ์ ครึ่งดูเพล็กซ์ หรือ ดูเพล็กซ์เต็มก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบ ซิงโครนัสหรือแบบ อะซิงโครนัสสายสื่อสารจะถูกจองการส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ( Lease Line ) ดังนั้นการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดจึงเหมาะสมกับงานที่มีการส่งรับข้อมูลมากๆ และต่อเนื่อง เช่น การเช่าสายโทรศัพท์เพื่อใช้ในระบบ ATM เป็นต้น






การเชื่อมโยงแบบหลายจุด ( Multipoing or Multidrop )เนื่องจากการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากเกินไป และในการส่งข้อมูลส่วนใหญ่มักใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพของสาย สื่อสาร แบบการเชื่อมโยงที่คุ้มค่ากว่าคือการใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียว แต่เชื่อมต่อกับเทอร์มินัลได้หลายๆ เครื่อง หรือหลายๆ จุดรูปเทอร์มินัล 1 ดรอป






รูปการเชื่อมโยงแบบหลายจุด

แต่ละเทอร์มินัลที่ต่อเข้ากับสายสื่อสารมักจะมีบัฟเฟอร์สำหรับกักเก็บข้อมูลไว้ให้ได้มากที่สุดก่อนทำการส่งข้อมูลอกไป เพื่อจะได้ใช้ประสิทธิภาพ ได้อย่างเต็มที่ และในขณะที่ยังไม่มีการส่งข้อมูลสามารถเปิดโอกาสให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ในกรณีที่แต่ละเทอร์มินัลส่งข้อมูลออกมาพร้อมกัน ข้อมูลจะชนกัน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลได้ จึงจำเป็นต้องมีศูนย์กลางควบคุมเพื่อ จัดการควบคุมทิศทางของการไหลของข้อมูล


การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตขิ่ง ( Switching Network)การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตชิ่งเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดในการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดได้มากที่สุด

รูป การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง

ในการทำงานของการเชื่อมโยงแบบสวิตซ์ชิ่งนั้น ประกอบด้วย1. การเชื่อมโยงการสื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนจะเริ่มส่ง - รับข้อมูล เช่น ต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ก่อนจะเริ่มพูดกับปลายทางได้ โดยมีเครือข่าย สวิตซิ่งเชื่อมโยงคอยสลับสายให้2. การเชื่อมโยงการสื่อสารจะเป็นแบบจุดต่อจุด คือคุยกันแค่ 2 คนเท่านั้น3. เมื่อจบการส่งข้อมูลแล้ว จะต้องตัดการเชื่อมโยงระหว่าง 2 จุดนั้น เพื่อให้สายการสื่อสารว่าง เพื่อให้สายอื่นเชื่อมต่อได้

ชนิดของสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
สายเกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable )สายเกลียวคู่เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถรบกวนจากสนามแม่เหล็กได้ แต่ ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสาย สายเกลียวคู่ 1 คู่ จะแทนการสื่อสาร ได้ 1 ช่องทาง สื่อสาร ( Channel ) ในการใช้งานได้จริง เช่น สายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายเกลียวคู่อยู่ภายในเป็นร้อยๆ คู่ สายเกลียวคู่ 1 คู่จะมี ขนาดประมาณ 0.016 - 0.036 นิ้วสายเกลียวคู่สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก และ แบบดิจิตอล เนื่องจากสายเกลียวคู่จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่ง สัญญาณ จึงจำเป็นต้องมี " เครื่องขยาย " ( Amplifier ) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอกในระยะทางไกลๆ หรือ ทุก 5-6 กม. ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี " เครื่องทบทวนสัญญาณ " ( Repeater ) สัญญาณ ทุกๆ ระยะ 2-3 กม.สายโคแอกเชียล ( Coaxial Cable)สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้นๆ ว่า " สายโคแอก " จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่าสายเกลียวคู่ ส่วนของการส่ง ข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่าง ชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 โอห์ม และ 50 โอห์ม ขนาดของสายมีตั้ง แต่ 0.4-1.0 นิ้วชั้นตัวเหนี่ยวนำป้องกันการสูญเสียพลังงานการแผ่รังสี เปลือกฉนวนหนา ทำให้สายโคแอกมีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้ นอก จากนั้นสายโคแอกยังช่วยป้องกัน " การสะท้อนกลับ " ( Echo ) ของเสียงได้อีกแและลดการรบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกันสายโคแอกสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง 1 ช่อง ทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์ แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณในบรอดแบนด์จะเป็น เช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลาย ช่องทางทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและอนาลอก สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 2 กม. ในยขณะที่บรอกแบนกด์ส่งได้ไกลกว่า ถึง 6 กม. เท่าโดยไม่ต้องใช้เครื่องทบทวนสัญญาณ หรือเครือ่งขยายเลยสายไฟเบอร์ออปติก ( Fiber Optic Cable )สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือ พลาสติกสามารถส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลายๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้น จะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจึงถึงปลายทางจากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาลอกหรือ ดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ทีทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณ มอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด ( Light Emitting Diode ) และ เลเซอร์ ไดโอด หรือ ILD ไดโอด ( Injection Laser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านทีมองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟาเรดซึ่งไม่สามารถ มองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟาเรดใช้อยู่ข่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกัน การรบกวนสัญญาณภายนอกได้สิ้นเชิงไมโครเวฟ ( Microwave )การส่งสัญญาณข้อมูลไปกับคลื่นไมโครเวฟจะเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ ( สถานี ) ส่ง - รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอ หนึ่ง แต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30- 50 กม. การส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่นในเขตเมืองใหญ่ๆ หรือ ป่าเขา แต่ละสถานี ไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณข้อมูลซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นความถี่สูง ( 2 - 10 GHerzt) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่นๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือ หักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้น การติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณจึงต้องให้ได้หน้าที่ของจานตรงกัน ปัจจุบันการส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกลๆ หรือ ระหว่างอาคาร โดยเฉพาะใน กรณีที่ไม่สะดวกที่ใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือการสื่อสารด้วยดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูก และติดตั้งง่ายด้วย