วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข้อสอบ 20 ข้อ

การออกข้อสอบปรนัยพร้อมเฉลย 20 ข้อ
1. ข้อใดคือความหมายของการสื่อสารข้อมูล
ก. กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
ข. หรือ พาหะ เพื่อนำข่าวสารนั้นไปถึงกันโดยใช้เคลื่อนวิทยุที่มีความถี่สูงเป็น คลื่นพาห์ ช่วยนำสัญญาณทาง
ค. เป็นการส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร
ง. อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ
เฉลย ก. กระบวนการถ่ายโอนหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
2. สัญญาณดิจิตอล คือข้อใด
ก. เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (sine wave) โดยแต่ละคลื่นจะมีความถี่และความเข้มของสัญญาณที่ต่างกัน
ข. เป็นสัญญาณที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1"
ค. เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียว
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข. เป็นสัญญาณที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดงสถานะเป็น "0" และ "1"
3. การสื่อสารข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท
ก. 1ประเภท ข. 2ประเภท
ค. 3 ประเภท ง. 4ประเภท
เฉลย ข. 2ประเภท
4. การมอดูเลตสัญญาณอนาล็อกมีกี่วิธี
ก. 1 วิธี ข. 2 วิธี
ค. 3 วิธี ง. 4 วิธี
เฉลย ค. 3 วิธี
5. ข้อดีของสายคู่บิดเกลียว
ก.มีราคาถูก ข.ใช้งานง่ายมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
ค.ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ง.ถูกทุกข้อ
6. จุดปลายทางของข่าวสาร หมายถึง ส่วนประกอบใดขององค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก. ผู้ส่งข่าวสาร ข. ช่องสัญญาณ
ค. การเข้ารหัส ง. ผู้รับข่าวสาร
เฉลย ง. ผู้รับข่าวสาร
7. การนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือความหมายของข้อใด
ก. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ค. ช่องทางการสื่อสาร
ข. การเชื่อมต่อแบบรวมกลุ่ม ง. อุปกรณ์ในเครือข่าย
เฉลย ก. ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
8. ข้อใดไม่ใช่ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก. โมเด็ม ข. ช่องทางการส่งสัญญาณ
ค. ตัวรับข้อมูล ง. ตัวส่งข้อมูล
เฉลย ก. โมเด็ม
9. การ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหมายถึงข้อใด
ก. แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย
ข. อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก
ค. อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ง. ไม่มีข้อใดถูก
เฉลย ก. แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย
10. องค์ประกอบของการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม แบ่งได้กี่ส่วน
ก. 1 ส่วน ข. 2 ส่วน
ค. 3 ส่วน ง. 4 ส่วน
เฉลย ข. 2 ส่วน
11. สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบเครื่อข่ายข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น
ก. การส่งอีเมลล์ ข. การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร
ค. การคุยกันผ่านทางเอ็มเอชเอ็ม ง. การอัพโหลดภาพและข้อมูล
เฉลย ข. การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร
12. การเชื่อมต่อแบบหลายจุดตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษในข้อใด
ก. Switched Network ข. Point to Point Line
ค. multiplex ง. Multipoint or Multidrop
เฉลย ง. Multipoint or Multidrop
13. Switched Network คื่อการเชื่อมต่อแบบใด
ก. การเชื่อมต่อแบบพื้นฐาน ข.การเชื่อมต่อแบบหลายจุด
ค.การเชื่อมต่อแบบรวมกลุ่ม ง. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร
เฉลย ง. การเชื่อมต่อเครือข่ายแบบสลับช่องทางการสื่อสาร
14. แหล่งกำเนิดของข่าวสาร หมายถึง ส่วนประกอบใดขององค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
ก. การเข้ารหัส ข. ช่องสัญญาณ
ค.ผู้รับข่าวสาร ง. ผู้ส่งข่าวสาร
เฉลย ง. ผู้ส่งข่าวสาร
15. ข้อเสียของการมอดูเลตแบบFM คือ
ก. มีแอมปลิจูดคงที่แต่ความถี่ของสัญญาณจะไม่คงที่
ข. จะต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าช่วยพาสัญญาณเหล่านั้นให้เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
ค. ต้องการแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้างเนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลายความถี่
ง. สัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ต้องความเร็วในการส่งข้อมูลสูงนิยมใช้การมอดูเลตแบบPM
เฉลย ค. ต้องการแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้างเนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลายความถี่
16. ประเทศไทยมีการนำโทรศัพท์มาใช้ในครั้งแรกในปี พ. ศ. ใด
ก.2420 ข.2421
ค.2424 ง.2423
เฉลย ค.2424
17. multiplex หมายถึง
ก. การส่งข้อมูล ข.การรวมสัญญาณ
ค. การแปลงสัญญาณ ง. การเชื่อมโยงกับเครื่อข่าย
เฉลย ข.การรวมสัญญาณ
18. การเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวและความยาวของสายไม่ จำกัดเป็นการเชื่อมโยงแบบใด
ก. การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด ข.รูปการเชื่อมโยงแบบหลายจุด
ค.การเชื่อมโยงแบบหลายจุด ง. การเชื่อมโยงทั่วไป
เฉลย ก. การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด
19. การส่งสัญญาณดิจิตอลเป็นสัญญาณแบบใด
ก.ไม่แบบต่อเนื่อง ข. แบบไม่ต่อกับโทรศัพท์
ค. แบบต่อเนื่อง ง. แบบต่อกับโทรศัพท์
เฉลย ก.ไม่แบบต่อเนื่อง
20. ประเทศเป็นคนค้นพบการการสื่อสารโทรคมนาคมเป็นประเทศแรก
ก. สหรัฐอเมริกา ข. ลาว
ค อินโดนีเซีย ง. ฮ่องกง
เฉลย ก. สหรัฐอเมริกา

วันอังคารที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การ modulet

การมอดูเลตสัญญาณ (Signal Modulation)
เมื่อต้องการจะส่งสัญญาณเสียงหรือข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าช่วยพาสัญญาณเหล่านั้นให้เคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งขบวนการหรือขั้นต้อนในการเพิ่มพลังงานไฟฟ้าดังกล่าวเราเรียกว่าการมอดูเลต(Modulation) พลังงานไฟฟ้าซึ่งมีความถี่สูงและคงที่รวมทั้งมีแอมปลิจูด(ขนาด) สูงด้วยนั้นเราเรียกว่าสัญญาณคลื่นพาห์(Signal Carrier) อุปกรณ์สำหรับมอดูเลตสัญญาณ(Modulator) จะสร้างสัญญาณคลื่นพาห์และรวมเข้ากับสัญญาณข้อมูลเพื่อให้สัญญาณมีความแรงพอที่จะส่งผ่านสื่อกลางไปยังอีกจุดหนึ่งที่อยู่ไกลออกไปได้และเมื่อถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แยกสัญญาณคลื่นพาห์ออกให้เหลือเพียงสัญญาณข้อมูลเราเรียกวิธีการแยกสัญญาณนี้ว่าการดีมอดูเลต(Demodulation) เรื่องการมอดูเลตสัญญาณเป็นเรื่องที่สำคัญมากในการสื่อสารข้อมูลการเลือกวิธีการมอดูเลตและการดีมอดูเลตที่เหมาะสมจะช่วยให้ท่านทำการส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การมอดูเลตสัญญาณอนาล็อก วิธีการมอดูเลตสัญญาณอนาล็อกเพื่อส่งผ่านไปในช่องทางสื่อสารอนาล็อกนั้นมี 3 วิธีด้วยกันคือ
1. การมอดูเลตทางแอมปลิจูด(Amplitude Modulation, AM)
2. การมอดูเลตทางความถี่(Frequency Modulation, FM)
3. การมอดูเลตทางเฟส(Phase Modulation, PM)
การมอดูเลตทางแอมปลิจูด(AM)
การมอดูเลตแบบAM เป็นวิธีการที่ดั้งเดิมที่สุดและสะดวกที่สุดตามรูป 3.1 จะเห็นว่าความถี่ของสัญญาณคลื่นพาห์จะคงที่และสูงกว่าความถี่ของสัญญาณข้อมูลเพื่อให้สามารถพาสัญญาณข้อมูลไปได้ระยะทางไกลๆ จะเห็นว่าสัญญาณ AM ที่ มอดูเลตแล้วจะมีความถี่เท่ากับความถี่ของสัญญาณคลื่นพาห์โดยมีขนาดหรือแอมปลิจูดของสัญญาณเปลี่ยนแปลงไปตามแอมปลิจูดของสัญญาณข้อมูล ข้อเสียของการมอดูเลตแบบAM คือ แบนด์วิดท์ของสัญญาณAM เป็นย่านความถี่ที่ไม่สูงนักทำให้สัญญาณรบกวน (Noise) จากภายนอกสามารถเข้ามารบกวนได้ง่าย คลื่นพาห์จะตก
การมอดูเลตทางความถี่(FM)
ตรงกันข้ามกับการมอดูเลตแบบ AM สัญญาณมอดูเลตแบบFM (ดูรูป 3.2) จะมีแอมปลิจูดคงที่แต่ความถี่ของสัญญาณจะไม่คงที่เปลี่ยนแปลงไปตามความถี่ของสัญญาณข้อมูลข้อเสียของการมอดูเลตแบบFM คือ ต้องการแบนด์วิดท์ที่มีขนาดกว้างเนื่องจากสัญญาณข้อมูลมีหลายความถี่ดังนั้นจึงต้องหาวัสดุที่เป็นสายสื่อสารที่มีขนาดของแบนด์วิดท์กว้างทำ ให้ราคาของสายสื่อสารสูงขึ้นตามไปด้วย
การมอดูเลตทางเฟส(PM)
ในขณะที่การมอดูเลตแบบAM และ FM เป็นที่นิยมใช้ในการกระจายเสียงทางวิทยุวิธีการมอดูเลตแบบPM กลับ นิยมใช้กันในการแพร่ภาพสีทางทีวีวิธีการมอดูเลตแบบPM ออกจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากกว่าแต่ก็เป็นวิธีที่ดีในการส่ง สัญญาณข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ต้องความเร็วในการส่งข้อมูลสูงนิยมใช้การมอดูเลตแบบPM โดยส่งผ่านระบบโทรศัพท์ ในการมอดูเลตแบบPM ครึ่งรอบของสัญญาณเราคิดเป็นมุมเฟสเท่ากับ180 องศา และเมื่อครบรอบจะคิดเป็น360 องศา สัญญาณมอดูเลตจะมีการเปลี่ยน(กลับ) มุมเฟสทุกครั้งที่มุมเฟสของสัญญาณข้อมูลต่างจากมุมเฟสของสัญญาณคลื่นพาห์เท่ากับ180 องศา

การเชื่อมโยงการสื่อสาร






รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูลการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด ( Point - to - Point )







รูปการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด



เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเครื่องเทอร์มินอล หรือ คอมพิวเตอร์เพียง 2 เครื่อง โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวและความยาวของสายไม่ จำกัด สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ไม่ว่าจะเป็นแบบซิมเพล็กซ์ ครึ่งดูเพล็กซ์ หรือ ดูเพล็กซ์เต็มก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งแบบ ซิงโครนัสหรือแบบ อะซิงโครนัสสายสื่อสารจะถูกจองการส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา ( Lease Line ) ดังนั้นการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดจึงเหมาะสมกับงานที่มีการส่งรับข้อมูลมากๆ และต่อเนื่อง เช่น การเช่าสายโทรศัพท์เพื่อใช้ในระบบ ATM เป็นต้น






การเชื่อมโยงแบบหลายจุด ( Multipoing or Multidrop )เนื่องจากการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากเกินไป และในการส่งข้อมูลส่วนใหญ่มักใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพของสาย สื่อสาร แบบการเชื่อมโยงที่คุ้มค่ากว่าคือการใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียว แต่เชื่อมต่อกับเทอร์มินัลได้หลายๆ เครื่อง หรือหลายๆ จุดรูปเทอร์มินัล 1 ดรอป






รูปการเชื่อมโยงแบบหลายจุด

แต่ละเทอร์มินัลที่ต่อเข้ากับสายสื่อสารมักจะมีบัฟเฟอร์สำหรับกักเก็บข้อมูลไว้ให้ได้มากที่สุดก่อนทำการส่งข้อมูลอกไป เพื่อจะได้ใช้ประสิทธิภาพ ได้อย่างเต็มที่ และในขณะที่ยังไม่มีการส่งข้อมูลสามารถเปิดโอกาสให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ในกรณีที่แต่ละเทอร์มินัลส่งข้อมูลออกมาพร้อมกัน ข้อมูลจะชนกัน ทำให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลได้ จึงจำเป็นต้องมีศูนย์กลางควบคุมเพื่อ จัดการควบคุมทิศทางของการไหลของข้อมูล


การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตขิ่ง ( Switching Network)การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตชิ่งเป็นเทคนิคที่สามารถใช้ประโยชน์สูงสุดในการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดได้มากที่สุด

รูป การเชื่อมโยงแบบเครือข่ายสวิตซ์ชิ่ง

ในการทำงานของการเชื่อมโยงแบบสวิตซ์ชิ่งนั้น ประกอบด้วย1. การเชื่อมโยงการสื่อสารทั้ง 2 ฝ่าย ก่อนจะเริ่มส่ง - รับข้อมูล เช่น ต้องหมุนหมายเลขโทรศัพท์ก่อนจะเริ่มพูดกับปลายทางได้ โดยมีเครือข่าย สวิตซิ่งเชื่อมโยงคอยสลับสายให้2. การเชื่อมโยงการสื่อสารจะเป็นแบบจุดต่อจุด คือคุยกันแค่ 2 คนเท่านั้น3. เมื่อจบการส่งข้อมูลแล้ว จะต้องตัดการเชื่อมโยงระหว่าง 2 จุดนั้น เพื่อให้สายการสื่อสารว่าง เพื่อให้สายอื่นเชื่อมต่อได้

ชนิดของสื่อกลางในการสื่อสารข้อมูล
สายเกลียวคู่ ( Twisted Pair Cable )สายเกลียวคู่เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุด ประกอบด้วยทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถรบกวนจากสนามแม่เหล็กได้ แต่ ไม่สามารถป้องกันการสูญเสียพลังงานจากการแผ่รังสีความร้อนในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสาย สายเกลียวคู่ 1 คู่ จะแทนการสื่อสาร ได้ 1 ช่องทาง สื่อสาร ( Channel ) ในการใช้งานได้จริง เช่น สายโทรศัพท์จะเป็นสายรวมที่ประกอบด้วยสายเกลียวคู่อยู่ภายในเป็นร้อยๆ คู่ สายเกลียวคู่ 1 คู่จะมี ขนาดประมาณ 0.016 - 0.036 นิ้วสายเกลียวคู่สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก และ แบบดิจิตอล เนื่องจากสายเกลียวคู่จะมีการสูญเสียสัญญาณขณะส่ง สัญญาณ จึงจำเป็นต้องมี " เครื่องขยาย " ( Amplifier ) สัญญาณ สำหรับการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอกในระยะทางไกลๆ หรือ ทุก 5-6 กม. ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี " เครื่องทบทวนสัญญาณ " ( Repeater ) สัญญาณ ทุกๆ ระยะ 2-3 กม.สายโคแอกเชียล ( Coaxial Cable)สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้นๆ ว่า " สายโคแอก " จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพดีกว่าและราคาแพงกว่าสายเกลียวคู่ ส่วนของการส่ง ข้อมูลจะอยู่ตรงกลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2 ชั้น ชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็ง ชั้นนอกเป็นฟั่นเกลียว และคั่นระหว่าง ชั้นด้วยฉนวนหนา เปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้งงอได้ง่าย มี 2 แบบ คือ 75 โอห์ม และ 50 โอห์ม ขนาดของสายมีตั้ง แต่ 0.4-1.0 นิ้วชั้นตัวเหนี่ยวนำป้องกันการสูญเสียพลังงานการแผ่รังสี เปลือกฉนวนหนา ทำให้สายโคแอกมีความคงทนสามารถฝังเดินสายใต้พื้นดินได้ นอก จากนั้นสายโคแอกยังช่วยป้องกัน " การสะท้อนกลับ " ( Echo ) ของเสียงได้อีกแและลดการรบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกันสายโคแอกสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ทั้งช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่งสัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง 1 ช่อง ทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์ แต่ในส่วนของการส่งสัญญาณในบรอดแบนด์จะเป็น เช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวี คือสามารถส่งได้พร้อมกันหลาย ช่องทางทั้งข้อมูลแบบดิจิตอลและอนาลอก สายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 2 กม. ในยขณะที่บรอกแบนกด์ส่งได้ไกลกว่า ถึง 6 กม. เท่าโดยไม่ต้องใช้เครื่องทบทวนสัญญาณ หรือเครือ่งขยายเลยสายไฟเบอร์ออปติก ( Fiber Optic Cable )สายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือ พลาสติกสามารถส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลายๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกัน ลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์นั้น จะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจึงถึงปลายทางจากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณอนาลอกหรือ ดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ทีทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อน จากนั้นจะส่งสัญญาณ มอดูเลตผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2 ชนิดคือ LED ไดโอด ( Light Emitting Diode ) และ เลเซอร์ ไดโอด หรือ ILD ไดโอด ( Injection Laser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสงในย่านทีมองเห็นได้ หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟาเรดซึ่งไม่สามารถ มองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟาเรดใช้อยู่ข่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ความผิดพลาดในการส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ออปติกนั้นมีน้อยมาก คือประมาณ 1 ใน 10 ล้านบิตต่อการส่ง 1,000 ครั้ง เท่านั้น ทั้งยังป้องกัน การรบกวนสัญญาณภายนอกได้สิ้นเชิงไมโครเวฟ ( Microwave )การส่งสัญญาณข้อมูลไปกับคลื่นไมโครเวฟจะเป็นการส่งสัญญาณข้อมูลแบบรับช่วงต่อๆ กันจากหอ ( สถานี ) ส่ง - รับสัญญาณหนึ่งไปยังอีกหอ หนึ่ง แต่ละหอจะครอบคลุมพื้นที่รับสัญญาณประมาณ 30- 50 กม. การส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟมักใช้กันในกรณีที่การติดตั้งสายเคเบิลทำได้ไม่สะดวก เช่นในเขตเมืองใหญ่ๆ หรือ ป่าเขา แต่ละสถานี ไมโครเวฟจะติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณข้อมูลซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 10 ฟุต สัญญาณไมโครเวฟเป็นคลื่นความถี่สูง ( 2 - 10 GHerzt) เพื่อป้องกันการแทรกหรือรบกวนจากสัญญาณอื่นๆ แต่สัญญาณอาจจะอ่อนลง หรือ หักเหได้ในที่มีอากาศร้อนจัด พายุหรือฝน ดังนั้น การติดตั้งจานส่ง - รับสัญญาณจึงต้องให้ได้หน้าที่ของจานตรงกัน ปัจจุบันการส่งสัญญาณข้อมูลด้วยไมโครเวฟกันอย่างแพร่หลาย สำหรับการสื่อสารข้อมูลในระยะทางไกลๆ หรือ ระหว่างอาคาร โดยเฉพาะใน กรณีที่ไม่สะดวกที่ใช้สายไฟเบอร์ออปติก หรือการสื่อสารด้วยดาวเทียม อีกทั้งไมโครเวฟยังมีราคาถูก และติดตั้งง่ายด้วย

การ mutiplex

วิธีการทำ MULTIPLEX

จากแนวความคิดที่ว่า ถ้าสายส่งสามารถส่งข่าวสารได้มากเท่าใดจะเป็นการประหยัด ในระบบการสื่อสารด้วยเส้นใยแสงก็เช่นเดียวกัน มีการทำ MULTIPLEX ชนิดต่าง ๆ เหมือนกับระบบสื่อสารที่ใช้สารส่งโลหะทำการ MULTIPLEX นั้นแบ่งออกเป็นพวกใหญ่ ๆ ได้เป็น 4 พวกคือ SPACE DIVISION MULTIPLEX, FREQUENCY DIVISION MULTIPLEX, TIME DIVISION MULTIPLEX และ WAVE LENGTH DIVISION MULTIPLEX
SPACE DIVISION MULTIPLEX หมายถึงในเส้นเคเบิลหนึ่งเส้นมีเส้นใยแสงจำนวนมาก เป็นวิธีที่ทำให้ส่งได้จำนวนมากต่อสายเคเบิลหนึ่งเส้น FREQUENCY DIVISION MULTIPLEX และ TIME DIVISION MULTIPLEX เป็นวิธีที่ใช้กันอยู่ในระบบการส่งแบบอนาลอก และแบบดิจิตอลในสายโลหะสำหรับระบบการสื่อสารด้วยเส้นใยแสง สัญญาณจำนวนมากที่จะถูกส่งไปนั้นจะถูกทำเป็น MULTIPLEX ในขั้นตอนของสัญญาณไฟฟ้า วิธีสุดท้ายคือ WAVE LENGTH DIVISION MULTIPLEX เป็นวิธีที่ส่งแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกันจำนวนมากไปในเส้นใยแสงหนึ่งเส้น สำหรับวิธีนี้โดนการประกอบผสม Optical Multiplexer และ Optical Demultiplexer จะทำให้ได้การส่งแบบ Duplex ดังแสดงในรูป 5 (a) หรือการส่งแบบ Simplex ดังแสดงในรูป 5 (b) แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดกรณีหนึ่งก็ตาม เนื่องจาก INSERTION LOSS ของ Optical Multiplexer และ Optical Demultiplexer ทำให้ระยะห่างของ Repeater สั้นลงจึงต้องคำนึงถึงระยะทางที่เหมาะสมของระบบ การลดราคาลงโดยการลดจำนวนเส้นของเส้นใยแสงและอื่น ๆ แล้วจึงกำหนดการใช้ที่เหมาะสมของ WAVE LENGTH DIVISION MULTIPLEX อนึ่ง ข้อดีก็คอสัญญาณไฟฟ้าที่ส่งไปกับความยาวคลื่นแต่ละอัน ไม่ว่าจะเป็นอนาลอก หรือดิจิตอล สามารถเปลี่ยนได้ง่าย ซึ่งเป็นความยืดหยุ่นของการสร้างระบบ

ชนิดของสัญญาณ

ชนิดของสัญญาณและวิธีการส่งสัญญาณข้อมูล
ชนิดของสัญญาณ
1. สัญญาณอนาลอก (Analog Signal)
เป็นสัญญาณแบบต่อเนื่อง มีลักษณะเป็นคลื่นไซน์ (sine wave) โดยแต่ละคลื่นจะมีความถี่และความ
เข้มของสัญญาณที่ต่างกัน
2.สัญญาณดิจิตอล (Digital Signal)
เป็นสัญญาณที่มีขนาดเปลี่ยนแปลงเป็นค่าของเลขลงตัว โดยปกติมักแทนด้วย ระดับแรงดันที่แสดง
สถานะเป็น "0" และ "1"

สื่อกลางในการสื่อสาร
มีหลายชนิด ซึ่งอาจจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทมีสาย ได้แก่ สายคู่ไขว้
(Wire pair หรือ Twisied pair หรือสายโทรศัพท์), สายตัวนำร่วมแกน(Coaxial Cables), เส้นใยนำแสง หรือไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber optics)
ประเภทไม่มีสาย ได้แก่ ไมโครเวฟ (Microwave) และดาวเทียม, การสื่อสารดาวเทียม
(Stellite Tranmission)
ประเภทมีสาย
สายเกลียวคู่ (Twisted pair Cable) สายเกลียวคู่ เป็นสายที่มีราคาถูกที่สุดประกอบด้วย
สาย
ทองแดง 2 เส้น แต่ละเส้นมีฉนวนหุ้มพันกันเป็นเกลียว สามารถลดการรบกวนจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้
แต่ไม่สามารถป้องกัน การสูญเสีย พลังงานจากการแผ่รังสีความร้อน ในขณะที่มีสัญญาณส่งผ่านสายสาย
เกลียวคู่1คู่จะแทนการสื่อสารได้ 1 ช่องทางสื่อสาร (Channel) ในการใช้งานจริง เช่นสายโทรศัพท์จะเป็น
สายรวมที่ประกอบด้วยสายเกลียวคู่อยู่ภายในเป็นร้อย ๆ คู่ สายเกลียวคู่ 1 คู่ จะมีขนาดประมาณ 0.016-
0.036 นิ้ว
1. สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชิลด์ (Unshielded Twisted Pair; UTP)
2. สายคู่บิดเกลียวแบบมีชิลด์ (Shielded Twisted Pair; STP)

สายเกลียวคู่สามารถใช้ได้ทั้งการส่งสัญญาณข้อมูลแบบอนาล็อกและแบบดิจิตอล เนื่องจากสาย
เกลียวคู่จะมี
การสูญเสียสัญญาณ ขณะส่งสัญญาณ จึงจำเป็นต้องมี "เครื่องขยาย" (Amplifier) สัญญาณ สำหรับการ
ส่งสัญญาณ
ข้อมูลแบบอนาล็อก ในระยะทางไกล ๆ หรือทุก 5-6 กม. ส่วนการส่งสัญญาณข้อมูลแบบดิจิตอลต้องมี
"เครื่องทบทวน" (Repeater) สัญญาณทุก ๆ ระยะ 2-3 กม.เพราะว่าแต่ละคู่ของสายเกลียวคู่จะแทนการ
ทำงาน 1 ช่องทางและสามารถมีแบนด์วิดท์ได้กว้างถึง 250 กิโลเฮิรตซ์
ดังนั้นในการส่งข้อมูลไปพร้อมกันหลาย ๆ ช่องทางจำเป็นต้องอาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณ
เพื่อให้สัญญาณทั้งหมดสามารถ ส่งผ่านสายสื่อสารไปได้พร้อม ๆ กัน ในการมัลติเพล็กซ์แบบ FDM จะ
สามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ถึง 24 ช่องทาง ๆ ละ 74 กิโลเฮิรตซ์ส่วนของอัตราเร็วสูงสุดในการส่งข้อมูล
ดิจิตอลผ่านสายเกลียวคู่สามารถมีได้ถึง 4 เมกะบิตต่อวินาที แต่ถ้าเป็นการส่ง ข้อมูลผ่านโมเด็ม จะส่งได้
ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที

ข้อดีข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว
ข้อดี
1. มีราคาถูก
2. ใช้งานง่ายมีความยืดหยุ่นในการใช้งาน
3. ติดตั้งง่ายและมีน้ำหนักเบา
ข้อเสีย
1. ถูกรบกวนจากสัญญาณภายนอกได้ง่าย
2. ระยะทางจำกัด


สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) สายเคเบิลแบบโคแอกเชียลหรือเรียกสั้น ๆ ว่า "สายโค
แอก" จะเป็นสายสื่อสารที่มีคุณภาพที่กว่าและราคาแพงกว่าสายเกลียวคู่ส่วนของสายส่งข้อมูลจะอยู่ตรง
กลางเป็นลวดทองแดงมีชั้นของตัวเหนี่ยวนำหุ้มอยู่ 2ชั้นชั้นในเป็นฟั่นเกลียวหรือชั้นแข็งชั้นนอกเป็นฟั่น
เกลียว และคั่นระหว่างชั้นด้วยฉนวนหนาเปลือกชั้นนอกสุดเป็นฉนวน สายโคแอกสามารถม้วนโค้ง งอได้
ง่าย มี 2 แบบคือ 75 โอมห์ และ 50 โอมห์ขนาดของสายมีตั้งแต่ 0.4 - 1.0 นิ้วชั้นตัวเหนี่ยวนำทำหน้าที่
ป้องกันการสูญเสียพลังงานจากแผ่รังสีเปลือกฉนวนหนาทำให้สายโคแอกมีความคงทนสามารถฝัง
เดินสายใต้พื้นดินได้ นอกจากนั้นสายโคแอกยังช่วยป้องกัน"การสะท้อนกลับ" (Echo) ของเสียงได้อีกด้วย
และลดการรบกวนจากภายนอกได้ดีเช่นกัน
สายโคแอกสามารถส่งสัญญาณได้ ทั้งในช่องทางแบบเบสแบนด์และแบบบรอดแบนด์ การส่ง
สัญญาณในเบสแบนด์สามารถทำได้เพียง 1 ช่องทางและเป็นแบบครึ่งดูเพล็กซ์ แต่ในส่วนของการส่ง
สัญญาณในบรอดแบนด์จะเป็นเช่นเดียวกับสายเคเบิลทีวีคือสามารถส่งได้พร้อมกันหลายช่องทางทั้ง
ข้อมูลแบบดิจิตอลและแบบอนาล็อกสายโคแอกของเบสแบนด์สามารถส่งสัญญาณได้ไกลถึง 2 กม.
ในขณะที่บรอดแบนด์ส่งได้ไกลกว่าถึง 6 เท่าโดยไม่ต้องเครื่องทบทวน หรือเครื่องขยายสัญญาณเลยถ้า
อาศัยหลักการมัลติเพล็กซ์สัญญาณแบบ FDM สายโคแอกสามารถมีช่องทาง (เสียง) ได้ถึง 10,000
ช่องทางในเวลาเดียวกันอัตราเร็วในการส่งข้อมูลมีได้สูงถึง 50 เมกะบิตต่อวินาทีหรือ 800 เมกะบิตต่อ
วินาที ถ้าใช้เครื่องทบทวนสัญญาณทุก ๆ 1.6 กม.ตัวอย่างการใช้สายโคแอกในการส่งสัญญาณข้อมูลที่ใช้
กันมากในปัจจุบัน คือสายเคเบิลทีวีและสายโทรศัพท์ทางไกล (อนาล็อก) สายส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย
ท้องถิ่น หรือ LAN (ดิจิตอล) หรือใช้ในการเชื่อมโยงสั้น ๆ ระหว่างอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

ข้อดีข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
1. มีประสิทธิภาพ และความต้านทานต่อการรบกวนสูง
2. สามารถส่งข้อมูลได้ไกลกว่าสายส่งข้อมูลแบบ twisted pair
3. สามารถส่งได้ทั้งเสียง สัญญาณวิดีโอ และข้อมูล
ข้อเสีย
1. ราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบ twisted pair
2. ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมีราคาสูงกว่าสายส่งข้อมูลแบบ twisted pair
3. จำกัดจำนวนของการเชื่อมต่อ
4. ระยะทางจำกัด


เส้นใยแก้วนำแสง หรือ ไฟเบอร์ออฟติกส์ (Fiber Optic Cable) หลักการ
การทั่วไปของการสื่อสารในสายไฟเบอร์ออปติกคือการเปลี่ยนสัญญาณ (ข้อมูล ไฟฟ้าให้เป็นคลื่นแสง
ก่อนจากนั้นจึงส่งออกไปเป็นพัลส์ของแสงผ่านสายไฟเบอร์ออปติกสายไฟเบอร์ออปติกทำจากแก้วหรือ
พลาสติกสามารถ ส่งลำแสงผ่านสายได้ทีละหลาย ๆ ลำแสงด้วยมุมที่ต่างกันลำแสงที่ส่งออกไปเป็นพัลส์
นั้นจะสะท้อนกลับไปมาที่ผิวของสายชั้นในจนถึงปลายทาง จากสัญญาณข้อมูลซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณ
อนาล็อกหรือดิจิตอล จะผ่านอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่มอดูเลตสัญญาณเสียก่อนจากนั้นจะส่งสัญญาณมอดูเลต
ผ่านตัวไดโอดซึ่งมี 2ชนิดคือ LED ไดโอด (light Emitting Diode) และเลเซอร์ไดโอด หรือ ILD ไดโอด
(Injection Leser Diode) ไดโอดจะมีหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณมอดูเลตให้เป็นลำแสงเลเซอร์ซึ่งเป็นคลื่นแสง
ในย่านที่มองเห็นได้หรือเป็นลำแสงในย่านอินฟราเรดซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ ความถี่ย่านอินฟราเรดที่ใช้
จะอยู่ในช่วง 1014-1015 เฮิรตซ์ ลำแสงจะถูกส่งออกไปตามสายไฟเบอร์ออปติก เมื่อถึงปลายทางก็จะมี
ตัวโฟโต้ไดโอด (Photo Diode) ที่ทำหน้าที่รับลำแสงที่ถูกส่งมาเพื่อเปลี่ยนสัญญาณแสงให้กลับไปเป็น
สัญญาณมอดูเลตตามเดิมจากนั้นก็จะส่งสัญญาณผ่านเข้าอุปกรณ์ดีมอดูเลตเพื่อทำการดีมอดูเลต
สัญญาณมอดูเลตให้เหลือแต่สัญญาณข้อมูลที่ต้องการ
สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีแบนด์วิดท์ (BW) ได้กว้างถึง 3 จิกะเฮิรตซ์ (1 จิกะ = 109)
และมีอัตราเร็วในการส่งข้อมูลได้ ถึง 1 จิกะบิตต่อวินาที ภายในระยะทาง 100 กม. โดยไม่ต้องการเครื่อง
ทบทวนสัญญาณเลย สายไฟเบอร์ออปติกสามารถมีช่องทางสื่อสาร ได้มากถึง 20,000-60,000 ช่องทาง
สำหรับการส่งข้อมูลในระยะทางไกล ๆ ไม่เกิน 10 กม.จะสามารถมีช่องทางได้มากถึง 100,000 ช่องทาง
ทีเดียว
ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้นำแสง
ข้อดี
1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับสภาพแวดล้อม เช่น
โรงพยาบาล สถานีโทรทัศน์
3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก
ข้อเสีย
1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูล 2 แบบแรก
2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้งมากกว่าสายส่งข้อมูลแบบอื่น ๆ
3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง สูงกว่า
http://www.kasettrang.ac.th/km/it-less4.pdf
องค์ประกอบของการสื่อสาร
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้
1. ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ ข้อมูล และเสียงเป็นต้น ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน 2. ผู้รับข่าวสาร หรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่ การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น เปรียบเสมือนเป็นสะพานที่จะให้ข่าวสารข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง

4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลงความหมายนี้ การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้ 5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน 6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ แต่ในการศึกษาขั้นพื้นฐานมักจะสมมติให้ทางด้านผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารไม่มีความผิดพลาด ตำแหน่งที่ใช้วิเคราะห์มักจะเป็นที่ตัวกลางหรือช่องสัญญาณ เมื่อไรที่รวมสัญญาณรบกวนด้านผู้ส่งข่าวสารและด้านผู้รับข่าวสาร ในทางปฎิบัติมักจะใช้ วงจรกรอง (filter) กรองสัญญาณแต่ต้นทาง เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล เป็นต้น
ข่ายการสื่อสารข้อมูล หมายถึง การรับส่งข้อมูลหรือสารสนเทศจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยระบบการส่งข้อมูล ทางคลื่นไฟฟ้าหรือแสง อุปกรณ์ที่ประกอบเป็นระบบการสื่อสารข้อมูลโดยทั่วไปเรียกว่า ข่ายการสื่อสารข้อมูล (Data Communication Networks)


องค์ประกอบพื้นฐาน
หน่วยส่งข้อมูล (Sending Unit)
ช่องทางการส่งข้อมูล (Transmisstion Channel)
หน่วยรับข้อมูล (Receiving Unit)

วัตถุประสงค์หลักของการนำการสื่อการข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในองค์การประกอบด้วย
เพื่อรับข้อมูลและสารสนเทศจากแหล่งกำเนิดข้อมูล
เพื่อส่งและกระจายข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
เพื่อลดเวลาการทำงาน
เพื่อการประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่งข่าวสาร
เพื่อช่วยขยายการดำเนินการองค์การ
เพื่อช่วยปรับปรุงการบริหารขององค์การ

http://knowledge.eduzones.com/knowledge-2-8-28298.html

เครือข่ายคอมฯ

เครือข่ายคอมพิวเตอร์
การที่ระบบเครือข่ายมีบทบาทและความสำคัญเพิ่มขึ้น เพราะไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการใช้งานอย่างแพร่หลาย จึงเกิดความต้องการที่จะเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เหล่านั้นถึงกับเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของระบบให้สูงขึ้น เพิ่มการใช้งานด้านต่าง ๆ และลดต้นทุนระบบโดยรวมลง มีการแบ่งใช้งานอุปกรณ์และข้อมูลต่าง ๆ ตลอดจนสามารถทำงานร่วมกันได้
สิ่งสำคัญที่ทำให้ระบบข้อมูลมีขีดความสามารถเพิ่มขึ้น คือ การโอนย้ายข้อมูลระหว่างกัน และการเชื่อมต่อหรือการสื่อสาร การโอนย้ายข้อมูลหมายถึงการนำข้อมูลมาแบ่งกันใช้งาน หรือการนำข้อมูลไปใช้ประมวลผลในลักษณะแบ่งกันใช้ทรัพยากร เช่น แบ่งกันใช้ซีพียู แบ่งกันใช้ฮาร์ดดิสก์ แบ่งกันใช้โปรแกรม และแบ่งกันใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ที่มีราคาแพงหรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่ายจึงเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานให้กว้างขวางและมากขึ้นจากเดิม
การเชื่อมต่อในความหมายของระบบเครือข่ายท้องถิ่น ไม่ได้จำกัดอยู่ที่การเชื่อมต่อระหว่างเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แต่ยังรวมไปถึงการเชื่อมต่ออุปกรณ์รอบข้าง เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าทำให้การทำงานเฉพาะมีขอบเขตกว้างขวางยิ่งขึ้น มีการใช้เครื่องบริการแฟ้มข้อมูลเป็นที่เก็บรวบควมแฟ้มข้อมูลต่างๆ มีการทำฐานข้อมูลกลาง มีหน่วยจัดการระบบสือสารหน่วยบริการใช้เครื่องพิมพ์ หน่วยบริการการใช้ซีดี หน่วยบริการปลายทาง และอุปกรณ์ประกอบสำหรับต่อเข้าในระบบเครือข่ายเพื่อจะทำงานเฉพาะเจาะจงอย่างใดอย่างหนึ่ง ในรูป เป็นตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มเชื่อมโยงเป็นระบบ


ตัวอย่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่จัดกลุ่มอุปกรณ์รอบข้างเชื่อมโยงเป็นระบบ
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความสามารถในการปฎิบัติการร่วมกัน ซึ่งหมายถึงการให้อุปกรณ์ทุกชิ้นที่ต่ออยู่บนเครือข่ายทำงานร่วมกันได้ทั้งหมดในลักษณะที่ประสานรวมกัน โดยผู้ใช้เห็นเสมือนใช้งานในอุปกรณ์เดียวกัน จึงเป็นวิธีการในการนำเอาอุปกรณ์ต่างชนิดจำนวนมาก มารวมกันเป็นเสมือนระบบเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่อุปกรณ์เหล่านั้นอาจจะมาจากต่างยี่ห้อ ต่างบริษัท ก็ได้

ความหมายของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) หมายถึงการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน โดยอาศัยช่องทางการสื่อสารข้อมูล เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ และการใช้ทรัพยากรของระบบร่วมกัน (Shared Resource) ในเครือข่ายนั้น
ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ เพื่อการเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ได้แก่ คอมพิวเตอร์แม่ข่าย (File Server) ช่องทางการสื่อสาร (Communication Chanel) สถานีงาน (Workstation or Terminal) และ อุปกรณ์ในเครือข่าย (Network Operation System)

คอมพิวเตอร์แม่ข่าย
คอมพิวเตอร์แม่ข่าย หมายถึงคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการทรัพยากร (Resources) ต่าง ๆ ซึ่งได้แก่ หน่วยประมวลผล หน่วยความจำ หน่วยความจำสำรอง ฐานข้อมูล และ โปรแกรมต่าง ๆ เป็นต้น ในระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) มักเรียกว่าคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ในระบบเครือข่ายระยะไกล ที่ใช้เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ หรือ มินิคอมพิวเตอร์เป็นศูนย์กลางของเครือข่าย เรานิยมเรียกว่า Host Computer และเรียกเครื่องที่รอรับบริการว่าลูกข่ายหรือสถานีงาน

ช่องทางการสื่อสาร
ช่องทางการสื่อสาร หมายถึง สื่อกลางหรือเส้นทางที่ใช้เป็นทางผ่าน ในการรับส่งข้อมูล ระหว่างผู้รับ (Receiver) และผู้ส่งข้อมูล (Transmitter) ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสาร สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่าย คอมพิวเตอร์มีหลายประเภทคือ สายโทรศัพท์แบบสายคู่ตีเกลียวไม่มีฉนวนหุ้ม (UTP) สายคู่ตีเกลียว แบบมีฉนวนหุ้ม (STP) สายโคแอคเชียล สายใยแก้วนำแสง คลื่นไมโครเวป และดาวเทียม เป็นต้น

สถานีงาน
สถานีงาน (Workstation or Terminal) หมายถึง อุปกรณ์หรือเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อ กับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เป็นสถานีปลายทางหรือสถานีงาน ที่ได้รับการบริการจากเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่าย เรียกว่าเป็นคอมพิวเตอร์ลูกข่าย (Workstation) ในระบบเครือข่ายระยะใกล้ มักมีหน่วยประมวลผล หรือซีพียูของตนเอง ในระบบที่ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เมนเฟรม เป็นศูนย์กลาง เรียกสถานีปลายทางว่าเทอร์มินอล (Terminal) ประกอบด้วยจอภาพและแป้นพิมพ์เท่านั้น ไม่มีหน่วยประมวลกลางของตัวเอง ต้องใช้หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางหรือ Host

อุปกรณ์ในเครือข่าย
การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (Network Interface Card :NIC) หมายถึง แผงวงจรสำหรับ ใช้ในการเชื่อมต่อสายสัญญาณของเครือข่าย ติดตั้งไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นเครื่องแม่ข่าย และเครื่องที่เป็นลูกข่าย หน้าที่ของการ์ดนี้คือแปลงสัญญาณจากคอมพิวเตอร์ส่งผ่านไปตามสายสัญญาณ ทำให้คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารกันได้

องค์ประกอบของเครือข่ายคอมพิวเตอร์
โมเด็ม ( Modem : Modulator Demodulator) หมายถึง อุปกรณ์สำหรับการแปลงสัญญาณดิจิตอล (Digital) จากคอมพิวเตอร์ด้านผู้ส่ง เพื่อส่งไปตามสายสัญญาณข้อมูลแบบอนาลอก(Analog) เมื่อถึงคอมพิวเตอร์ด้านผู้รับ โมเด็มก็จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณอนาลอก ให้เป็นดิจิตอลนำเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการประมวลผล โดยปกติจะใช้โมเด็มกับระบบเครือข่ายระยะไกล โดยการใชสายโทรศัพท์เป็นสื่อกลาง เช่น เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น
ฮับ ( Hub) คือ อุปกรณ์เชื่อมต่อที่ใช้เป็นจุดรวม และ แยกสายสัญญาณ เพื่อให้เกิดความสะดวก ในการเชื่อมต่อของเครือข่ายแบบดาว (Star) โดยปกติใช้เป็นจุดรวมการเชื่อมต่อสายสัญญาณระหว่าง File Server กับ Workstation ต่าง ๆ
http://www.school.net.th/library/snet1/hardware/network.html


การสื่อสารข้อมูล

ความหมายของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนหรือ
แลกเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ โดยผ่านช่องทางสื่อสาร เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
หรือคอมพิวเตอร์เป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล เพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับเกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน
วิธีการส่งข้อมูลนี้ จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ
และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้นกลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถ
ที่จะเข้าใจได้ ในระหว่างการส่งอาจจะมีอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นก็คือ สิ่งรบกวน (Noise) จากภายนอกทำ
ให้ข้อมูลบางส่วนเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปได้ซึ่งระยะทางก็มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้วยเพราะถ้าระยะทาง
ในการส่งยิ่งมากก็อาจจะทำให้เกิดสิ่งรบกวนได้มากเช่นกัน จึงต้องมีหาวิธีลดสิ่งรบกวนเหล่านี้ โดย
การพัฒนาตัวกลางในการสื่อสารที่จะทำให้เกิดการรบกวนน้อยที่สุด
ส่วนประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล ได้แก่
1. ตัวส่งข้อมูล
2. ช่องทางการส่งสัญญาณ
3. ตัวรับข้อมูล
4. การสื่อสารข้อมูลในระดับเครือข่าย
มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน
OSI (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ
สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้
http://irrigation.rid.go.th/rid8/home%20rid8/Communication&Information/data_tip/commu&data.pdf

ความหมายของโทรคมนาคม

ความหมายของโทรคมนาคม
โทรคมนาคม (Telecommunications) เป็นการส่งสารสนเทศในรูปแบบของตัวอักษร ภาพและเสียงโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือการติดต่อสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งไปยังอกที่หนึ่งโดยใช้พลังงานไฟฟ้าให้ไหลไปตามสายเคเบิลทองแดง เคเบิลเส้นใยแสง หรือโดยอาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการส่งสัญญาณไปในบรรยากาศ เช่นการส่งวิทยุ โทรทัศน์ การส่งคลื่นไมโครเวฟ และการส่งสัญญาณผ่านดาวเทียม โดยจุดที่ส่งข่าวสารกับจุดรับจะอยู่ห่างไกลกัน และข่าวสารที่ส่งจะเฉพาะเจาะจงผู้รับคนใดคนหนึ่งหรือส่งให้ผู้รับทั่วไปก็ได้โทรคมนาคมเป็นการใช้สื่ออุปกรณ์รับไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ โทรสาร และโทรพิมพ์ เพื่อการสื่อสารในระยะไกล โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะแปลงข้อมูลรูปแบบต่าง ๆ เช่น เสียงและภาพไปเป็นสัญญาณไฟฟ้า สัญญาณเหล่านี้จะถูกส่งไปโดยสื่อ เช่น สายโทรศัพท์ หรือคลื่นวิทยุเมื่อสัญญาณไปถึงจุดปลายทาง อุปกรณ์ด้านผู้รับจะรับและแปลงกลับสัญญาณไฟฟ้าเหลานี้ให้เป็นข้อมูลที่สามารถเข้าใจได้ เช่นเป็นเสียงทางโทรศัพท์ หรือภาพบนจอโทรทัศน์ หรือข้อความและภาพบนจอคอมพิวเตอร์ โทรคมนาคมจะช่วยให้บุคคลสามารถติดต่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด ๆ ในโลกในรูปแบบของข่าวสาร ความรู้ และความบันเทิง
ประเภทของข้อมูล
ข้อมูลในการสื่อสารโทรคมนาคมสามารถแยกได้เป็น 4 ประเภท
คือ1. ประเภทเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี
2. ประเภทตัวอักษร เช่นอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์
3. ประเภทภาพ ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว
4. ประเภทรวม เป็นการสื่อสารทั้งตัวอักขระ ภาพและเสียง
องค์ประกอบของการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม
องค์ประกอบของการสื่อสารในระบบโทรคมนาคม แบ่งได้ 2 ส่วน ซึ่งทำหน้าที่ดังนี้
1. สื่อ หรือ พาหะ เพื่อนำข่าวสารนั้นไปถึงกันโดยใช้เคลื่อนวิทยุที่มีความถี่สูงเป็น คลื่นพาห์ ช่วยนำสัญญาณทาง ไฟฟ้าที่ส่งมานั้นแพร่กระจายไปในบรรยากาศไปยังเครื่องรับได้โดยสะดวก
2. เครื่องส่งและเครื่องรับ จุดส่งและจุดแต่ละจุดจะต้องมีเครื่องเข้ารหัส เพื่อเปลี่ยนข่าวสารนั้นให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าเสียก่อน เพื่อฝากสัญญาณไปกับคลื่นพาห์ ด้วยการ กล้ำสัญญาณ โดยเครื่องมือที่เรียกว่า มอดูเลเตอร์ เมื่อสัญญาณนั้น เสมือนเครื่องถ่ายสำเนาเอกสาร เพียงแต่ต้นฉบับที่ส่งมารนั้นอยู่ห่างไกลจากผู้รับโทรสารเป็นอุปกรณ์ที่นำมาใช้แทนเครื่องโทรสาร (phototelegraph) ที่เคยใช้ในการส่งภาพนิ่งมาแต่เดิม ซึ่งล้าสมัยไปแล้ว

วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

กลอนรัก

รักคนโกหก
แคร์คนเจ้าชู้
อยากบอก I LOVE YOU
ทั้งที่รู้เธอหลายใจ